หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย
ข้อปฏิบัติของหัวหน้าชุด
1. ทำการตรวจตราดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยป้อมหน้าและทุกจุดในหมู่บ้านอยู่เสมอ
2. ดูแลความเรียบร้อยพื้นที่ภายในหมู่บ้านทั้งหมด
3. รับข้อมูลจากพนักงานรักษาความปลอดภัยจากป้อมหน้า จุดในหมู่บ้าน พร้อมทั้งสรุปรายงานประจำวันเสนอต่อฝ่ายบริหารหมู่บ้านทุกวัน
4. สำรวจหาจุดบอด ล่อแหลม เสี่ยงภัย เสนอต่อทางฝ่ายบริหารหมู่บ้านเพื่อแก้ไข
5. แจ้งข้อมูลข่าวสารหรือระเบียบต่างๆ ของทางหมู่บ้านแก่ รปภ.
6. ปฏิบัติตามระเบียบของทางหมู่บ้านและทางบริษัทฯ โดยเคร่งครัด
7. เรียกแถวพนักงาน รปภ. เพื่อทำการอบรมและตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องแต่งกายประจำวัน ทั้งผลัดเช้าและผลัดกลางคืน
8. แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
9. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัย
10. ประสานงานกับเจ้าของบ้านและผู้บริหารหมู่บ้านเมื่อเกิดโจรกรรมขึ้นภายในหมู่บ้าน
11. ประสานงานกับผู้ว่าจ้างและบริษัทรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
แผนปฏิบัติของพนักงานรักษาความปลอดภัยป้อมหน้าหมู่บ้าน
1. ตรวจตราแลกบัตรบุคคลภายนอกและยานพาหนะทุกชนิดเช่น รถยนต์, รถจักรยานยนต์ที่ผ่าน เข้า – ออกโครงการพร้อมทั้งบันทึกหมายเลขทะเบียนรถ สี ยี่ห้อ ชื่อ – นามสกุลและที่อยู่ของผู้มาติดต่อ บัตรที่ใช้แลกเข้าหมู่บ้านใช้ได้เฉพาะบัตรประชาชนหรือใบขับขี่หรือบัตรอื่นๆ ที่ราชการออกให้ ฉบับจริงเท่านั้น ไม่รับสำเนา โดยให้ลูกบ้านประทับตราเลขที่บ้านทุกครั้งก่อนออกนอกหมู่บ้าน
2. สอบถามผู้เข้ามาติดต่อและให้คำแนะนำสถานที่ที่จะเข้าไปติดต่อด้วยท่าทางกิริยาที่สุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะเช่น “สวัสดีครับ”, “ติดต่อบ้านไหนครับ”, “กรุณาแลกบัตร” และ “ขออนุญาตตรวจท้ายรถด้วยครับ”, “ขอบคุณครับ”
3. ตรวจสอบทรัพย์สินที่นำออกจากหมู่บ้านด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้อง กรณีการขนทรัพย์สินออกจากหมู่บ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านขนาดใหญ่ที่สังเกตได้ เช่น ตู้ โทรทัศน์ เตียง ตู้เซฟ ฯลฯ จะต้องมีใบอนุญาตที่ลงนาม โดยผู้จัดการหมู่บ้าน/อาคาร/ฝ่ายบริหารโครงการก่อน
4. ประสานงานกับพนักงานรักษาความปลอดภัยจุดตรวจภายในหมู่บ้านเพื่อตรวจสอบบุคคลภายนอกไปตามสถานที่ที่แจ้งว่าจะมาติดต่อจริง
5. เปิด – ปิดประตูหมู่บ้านตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วงเวลา 22.00 น. จะเปิดการจราจรด้านขาเข้าทางเดียว
6. ดูแลรักษาความสะอาดในป้อมรักษาความปลอดภัย รวมทั้งห้องน้ำ รปภ. ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
7. ควบคุมและป้องกันมิให้สุนัขจรจัดจากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้าน
8. ควบคุมไม่ให้รถเข็นขายของบริเวณทางเข้า และด้านหน้าหมู่บ้านตลอดแนว
9. ตรวจสอบการนำทรัพย์สินเข้า – ออก ของรถบุคคลภายนอก ทำการจดบันทึก และสอบถามเมื่อผิดสังเกต
10. ห้ามรถต้องห้ามเข้าภายในหมู่บ้าน เช่น รถเรี่ยไรต่างๆ, รถเข็นขายของ, รถมูลนิธิต่างๆ, รถรับซื้อของเก่าทุกชนิด รวมถึงตรวจสอบและควบคุมไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาขายของหรือติดข่าวสาร แจกใบปลิวในหมู่บ้าน
11. ตรวจสอบบัตรของลูกค้าที่แลกคืนให้ถูกต้อง ด้วยกริยาสุภาพ เช่น “สวัสดีครับ”,“รอสักครู่นะครับ”,“ถูกต้องมั้ยครับ”,“ขอบคุณครับ”
12. รับโทรศัพท์ รับเรื่องจากลูกค้า อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำกับลูกค้า ด้วยกริยาวาจาที่สุภาพ อ่อนน้อม เช่น “สวัสดีครับ หมู่บ้าน...............................ผม รปภ.....................รับสาย ยินดีให้บริการครับ”
13. ดูแลเรื่องจราจรให้ลูกค้าในหมู่บ้านในช่วงเวลาเร่งด่วน
แผนปฏิบัติของพนักงานรักษาความปลอดภัยจุดตรวจในหมู่บ้าน
1. ทำการตรวจตราดูแลความเรียบร้อยภายในพื้นที่ ที่ได้รับมอบหมาย
2. ทำการประสานงานกับพนักงานรักษาความปลอดภัยป้อมหน้า และจุดใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง
3. กรณีมียานพาหนะเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบ ต้องตรวจสอบว่าเป็นยานพาหนะภายในหรือภายนอก ถ้าเป็นยานพาหนะภายนอกจะต้องตรวจสอบว่าได้ไปติดต่อกับบ้านที่แจ้งไว้ที่ป้อมหน้าหรือไม่ โดยประสานงานกับจุดป้อมหน้า ทางวิทยุสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ
4. สังเกตบุคคล, ยานพาหนะที่ต้องสงสัย ทำการติดตาม ประสานงานจุดที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันเหตุโจรกรรม
5. ทำการบันทึกรายงานเหตุการณ์ที่พบเห็นอย่างละเอียดเพื่อนำเสนอหัวหน้าชุด
6. ทำการตรวจเช็คทรัพย์สินส่วนกลางของโครงการไม่ให้เกิดความชำรุดและเสียหาย เช่น มิเตอร์ไฟส่วนกลาง, ป้ายประชาสัมพันธ์, ปั๊มน้ำ, ป้ายซอย เป็นต้น
7. ตรวจความเสียหายของอุปกรณ์และทรัพย์สินในโครงการ พร้อมทำบันทึกและรายงานต่อผู้จัดการหมู่บ้าน เช่น ไฟแสงจันทร์ที่ดับ, ท่อประปาแตก, ต้นไม้ล้ม เป็นต้น
8. ตรวจเช็คการทำงานของผู้รับเหมาไม่ให้ทำความเสียหายต่อทรัพย์สินในหมู่บ้านหรือ ต่อภาพลักษณ์ของหมู่บ้าน เช่น ผสมปูนบนถนน, ตากเสื้อผ้าตามแนวรั้วบ้าน เป็นต้น
9. กรณีมีการก่อสร้างหรือตกแต่งต่อเติม ต้องมีการตรวจสอบและดูแลให้เป็นไปตามระเบียบของทางโครงการ
10. ตรวจสอบและควบคุมคนงานที่ทำงานไม่ให้ละเมิดระเบียบของหมู่บ้าน เช่น การก่อกองไฟ, ทำงานเสียงดังภายในโครงการ, เล่นการพนัน, รุกล้ำที่ดินบุคคลอื่น เป็นต้น
11. ดูแลป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้
12. เปิด – ปิดไฟแสงจันทร์ในหมู่บ้านตามถนนเมนและตามซอย ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกบ้านในเวลากลางคืนตามระยะเวลาที่กำหนด
13. สำรวจหาจุดบอด, จุดไม่ปลอดภัยในพื้นที่ของทางหมู่บ้าน เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขต่อไป